วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เก้าอี้กระดาษงานบ้านและสวน ไปถึงรถยนต์ไฟฟ้า

ผมไปงานบ้านแล้วสวนประจำปีนี้มา

จริงๆก็ไม่แปลกนะเพราะผมไปทุกปี คนในวงการออกแบบอย่างผมมักไปกันเสมอเพื่ออัฟเดฟความรู้ใหม่ๆด้านการออกแบบให้ทันสมัยเสมอ ปีนี้ก็เช่นกันผมและภรรยาคนแรก คนเดียว และไม่มีคนอื่น ซึ่งมีเธอคนเดียวจริงๆให้ฟ้าผ่าตายเถอะ เธอคนนี้ละไปเดินในงานด้วยกัน

ปีนี้ผมตั้งใจจะดูอะไรใหม่ๆจริงๆไม่เหมือนทุกปีที่แวะทุกบูต เอาละผมมีรูปนวัตกรรมด้านการออกแบบใหม่ๆมาเยอะ เอาว่าจะทยอยลงนะครับ

แต่มีเรื่องหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นและน่าคิด นั้นคือ เก้าอี้

เป็นเก้าอี้ที่ทำด้วยกระดาษลัง(ขอใช่ภาษาชาวบ้าน) นัยว่าออกแบบเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ...........

ผมมองดูแล้วถามภรรยาสุดที่รัก(ก็มีคนเดียวนะ จะรักใครได้)

"ก้าอี้นี้เขาทำไปทำไมอะ"
"อนุรักษ์ธรรมชาติไง กระดาษย่อยสลายได้แล้วรีไซค์เคอร์ได้ใหม่ด้วย"

ผมพยักหน้ารับ ภรรยาผมเป็นอีกหนึ่งคนที่ถูกภาษาการตลาดหลอกเรื่องอนุรักษ์

หลายคนอาจมองว่าเก้าอี้กระดาษนั้นอนุรักษ แทนจริงไม่ใช่เลย

จะว่าไหมหากผมจะบอกว่าเก้าอี้พลาสติกอนุรักษ์กว่า

เอาผมถามทุกท่านที่เชื่อว่าเก้าอี้กระดาษอนุรักษ์กว่า

เก้าอี้กระดาษนั้นใช่ได้กี่วัน ผมมองว่ามันจะใช่ได้ไม่เกิน 2 วัน มันจะเก็บความชื้นจากน้ำที่เช็ดพื้น อากาศก็มีผล

เพียง 2 วันเราต้องนำมันกลับไปรีไซค์เคอร์ใหม่..........
สมมุติเราจะใช่มันให้ได้ 1 ปี 365 วัน


เราต้องรีไซค์เคอร์ทั้งหมด 182 ครั้ง.......หากครั้งหนึ่งเราต้องใช่พลังงานจากน้ำมัน 1 ลิตร

เท่ากับเราใช่น้ำมันไป 182 ลิตร

เอาละเก้าอี้พลาสติก

หากคุณใช่ดีๆมันเกินปีนะครับ ผมเหมาว่าใช่ทุกวันแบบร้านตามริมทางที่มักจะเปลี่ยนเก้าอี้พลาสติกปีละครั้ง

สมมุติเราจะใช่มันให้ได้ 1 ปี 365 วัน

เราต้องรีไซค์เคอร์ทั้งหมด 1 ครั้ง.......หากครั้งหนึ่งเราต้องใช่พลังงานจากน้ำมัน 1 ลิตร

เท่ากับเราใช่น้ำมันไป 1 ลิตร

เอาละที่นี้ เก้าอี้พลาสติก กับ เก้าอี้กระดาษ อะไรรักษ์โลกมากกว่า.......

ผมมองดูภาษาทางการตลาดที่ใช่อยู่ทุกวันนี้ที่เอากระแสอนุรักษ์ธรรมชาติมาใช่แล้วน่าคิด มันทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรกษ์ผิดไปมาก มากจนน่ากลัวที่เดียว

อย่างตะเกียบที่เดียวนี้ทุกคนหันมาใช่ตะเกียบไม้ นัยยะว่าอนุรักษ์กว่าตะเกียบพลาสติก

แต่

ตะเกียบไม้นั้นมีอายุการใช่งานไม่เกิน 2 ปี มันจะขึ้นราและต้องทิ้ง แล้วจากนั้นมันจะใช่เวลา 24 ปีในการย่อยสลาย......... นี้ผมไม่นับรวมแบบใช่ครั้งเดียวทิ้งนะ

ในขณะที่ตะเกียบพลาสติกอายุการใช่งาน 5 ปี รีไซค์เคอร์ได้ ส่วนตะเกียบโลหะ ในพิพิธภัณฑ์มันสภาพพร้อมใช่งานได้เกิน 100 ปี

ตะเกียบไม้อนุรักษ์

ผมนึกถึงกระแสอนุรักษ์หลายๆอย่างที่ทำกันจนความจริงผิดเพี้ยนไป และรถไฟฟ้าเป็นหนึ่งในนั้น

จะว่าไปมันคือมหกรรมการหลอกลวงว่าอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้

หลายคนอาจเถียงผมว่า รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่น้ำมัน ไม่ปล่อยไอเสีย อนุรักษ์ธรรมชาติไม่ทำโลกร้อน

แต่.......

รถไฟฟ้ามันใช่พลังงานไฟฟ้า

แล้วไฟฟ้ามาจากไหนถ้าไม่ใช่โรงงานและเขื่อน...........

รถยนต์ไม่ปล่อยไอเสีย แต่โรงงานไฟฟ้าปล่อยไอเสียแทนใช่หรือไม่?

ความจริงคือเมื่อรถไฟฟ้ามากขึ้น โรงงานก็มากตาม

แล้วนี้คือการรักษ์โลกจริงหรือ???

หรือแท้ๆแค่ภาษาการตลาดหลอกขายสินค้าเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น